สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 พฤศจิกายน 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด และได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
 
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,814 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,003 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,016 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,835 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.31
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 35,250 บาท ราคาลดลงจากตันละ 35,850 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,290 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,350 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,126 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,849 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,394 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.32 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,545 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,596 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,581 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 15 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,415 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 414 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,401 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 413 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,415 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,491 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 76 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.0617
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย
ผู้ส่งออกข้าวหนุนยกเลิกใช้ 3 สารเคมีอันตรายในการปลูกข้าว คาดกระทบต่อการนำเข้าในประเทศสำคัญ
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าว กล่าวระหว่างการลงพื้นที่ศึกษาภาวะผลผลิตข้าวนาปี
ปีการเพาะปลูก 2562/63 ว่า ภาพรวมของผลผลิตโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดการณ์ว่า
ข้าวหอมมะลิจะลดลงประมาณร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ข้าวเหนียวจะลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาของภัยธรรมชาติผลกระทบน้ำท่วมส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง แต่อย่างไรก็ดียังต้องรอ
ติดตามและประเมินผลผลิตที่กำลังออกสู่ตลาดในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2562
นอกจากนี้ ในส่วนของการลดการใช้ 3 สารอันตราย หรือสามารถยกเลิกในการนำมาใช้ด้านการเพาะปลูกข้าว เป็นเรื่องที่ผู้ส่งออกเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะตลาดสำคัญ ทั้งตลาดสหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น หากอนาคตมีการเริ่มนำมาตรการสารตกค้างในสินค้าเกษตรเข้ามาใช้หรือมีความเข้มงวดมากขึ้น อนาคตอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวไทย ดังนั้น หากเกษตรกรหรือผู้ปลูกลดละหรือเลิกการใช้ 3 สาร อันตรายได้จะทำให้
การแข่งขันการส่งออกข้าวไทยยังมีศักยภาพอยู่
“อดีตทางผู้ส่งออกได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรลดการใช้สารอันตรายในการเพาะปลูก เนื่องจาก ประเทศผู้นำเข้าให้ความสำคัญและเพิ่มมาตรฐานความเข้มงวดมากขึ้น ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการตื่นตัวมาก หาก เกษตรกรไทยยังใช้อยู่จะกระทบต่อการค้าและการส่งออก”
ปัจจุบันพบว่า สัดส่วนการตลาดข้าวไทยในต่างประเทศปรับตัวลดลงในหลายตลาด เช่น ตลาดฮ่องกงสัดส่วนการตลาดข้าวไทยเหลือเพียงร้อยละ 48 จากเดิมขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 68 หรือแม้กระทั่งตลาดจีนสัดส่วนการนำเข้า
ก็ลดลง โดยแนวโน้มอนาคตมองว่าสัดส่วนการนำเข้าข้าวไทยในตลาดจะลดลงเรื่อยๆ จากปัจจัยด้านการแข่งขัน ค่าเงินบาทที่แข็งค่า รวมไปถึงคุณภาพด้านการส่งออกข้าวไทย
อย่างไรก็ดี สำหรับทิศทางการส่งออกข้าวในปี 2563 ยังไม่สามารถประเมินภาพรวมการส่งออกได้ยังต้องรอดู
ในหลายปัจจัย ทั้งปริมาณและการแข่งขันส่วนการส่งออกข้าวในปี 2562 มองว่าน่าจะขยายตัวได้เพียงร้อยละ 8
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในระดับทรงตัว หลังจากราคาปรับสูงขึ้นในระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 เดือนครึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากอุปทานข้าวในตลาดค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการผลิต ฤดูร้อน-ใบไม้ร่วง (the summer-autumn harvest) ใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว โดยราคาข้าวขาว 5% ยังคงอยู่ที่ตันละ 345-350 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับสัปดาห์ที่แล้ว ส่วนข้าวหอมราคาอยู่ที่ประมาณตันละ 520 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่วงการค้า รายงานว่า ผู้ซื้อบางส่วนได้ชะลอการซื้อข้าวในช่วงนี้เพราะจะรอดูผลผลิตข้าวฤดูร้อน
ใบไม้ร่วง ที่มีการเก็บเกี่ยวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงทางภาคใต้ของประเทศ ซึ่งคาดว่าผลผลิตจะออกมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคมนี้
นายเหวียน ซวน กวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ระบุว่า รัฐบาลเวียดนามกำลังพิจารณาปรับลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าว เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นทดแทน อาทิ มะพร้าว เนื่องจากการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกเพียงอย่างเดียวมีความเสี่ยงสูงและไม่สามารถส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลเวียดนามวางแผนจะประสานกับเกษตรกรเพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าวลงประมาณ 3.1 ล้านไร่ จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 25.6 ล้านไร่ ซึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลงปีละ 3-4 ล้านตัน แต่อยู่ในระดับที่ไม่กระทบต่อความมั่นคง
ทางอาหารของประเทศ นอกจากนี้เวียดนามยังจะมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าของข้าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตน้ำมันรำข้าวที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่า
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
บังคลาเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า ในปีการตลาด 2562/63 (พฤษภาคม 2562-เมษายน 2563)
คาดว่าบังคลาเทศจะมีผลผลิตข้าวสารประมาณ 35.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากประมาณการณ์ในปี 2561/62 ที่ 34.909 ล้านตัน ซึ่งจากข้อมูลของทางการบังคลาเทศ รายงานว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวในฤดูการผลิต Aus (เมษายน-สิงหาคม)
มีประมาณ 6.88 ล้านไร่ และมีผลผลิตประมาณ 2.45 ล้านตัน โดยคาดว่าจะมีการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้
ทางด้านภาวะราคาข้าวในประเทศยังคงอยู่ในช่วงปรับลดลง เนื่องจากอุปทานข้าวในประเทศทีมีมาก โดยราคาขายปลีกในเดือนตุลาคมเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 34 ทากาต่อกิโลกรัม หรือประมาณตันละ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก
ปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 21
จากข้อมูลของกระทรวงการอาหาร (the Ministry of Food; MOF) ระบุว่า ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2562
สต็อกข้าวสาธารณะมีอยู่ประมาณ 1.33 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดย
เมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงการอาหารได้ดำเนินการจัดหาข้าวตามโครงการของรัฐบาลเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งสามารถจัดหา ข้าวเปลือกจากฤดู Boro ได้ประมาณ 300,000 ตัน ข้าวนึ่งประมาณ 900,000 ตัน และข้าวสารประมาณ 150,000 ตัน ส่วนการจัดหาในฤดู Aman ยังไม่มีการประกาศออกมา
ทางด้านมาตรการเพื่อลดอุปทานข้าวในประเทศลง เพื่อไม่ให้ราคาข้าวตกต่ำนั้น รัฐบาลได้ออกมาตรการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ส่งออกในอัตราร้อยละ 20 (a 20% export incentive) เพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการส่งออกข้าวบางส่วน ออกไปต่างประเทศ เนื่องจากตามปกติแล้วบังคลาเทศจะไม่ค่อยส่งออกข้าวไปต่างประเทศเพราะมีต้นทุนที่สูงกว่า ประเทศส่งออกรายอื่น ดังนั้นการจะส่งออกข้าวได้ผู้ประกอบการจะต้องมีต้นทุนที่ต่ำกว่า เช่น ค่าใช้จ่ายในการสีข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ USDA คาดว่าบังคลาเทศอาจจะส่งออกได้เฉพาะในกลุ่มของข้าวชนิดพิเศษ เช่น ข้าวหอม ส่วนการส่งออกข้าวธรรมดา เช่น ข้าวขาวจะมีปริมาณจำกัดเพราะไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศส่งออกรายอื่นๆ ได้
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.64 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.42 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.96 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.03 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.92 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 299.80 ดอลลาร์สหรัฐ (9,012 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 300.20 ดอลลาร์สหรัฐ (8,992 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 แต่เพิ่มขึ้น
ในรูปของเงินบาทตันละ 20 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 375.76 เซนต์ (4,512 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 381.56 เซนต์ (4,566 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 54 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนพฤศจิกายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.07 ล้านตัน (ร้อยละ 6.57 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสด
มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังต่ำประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.98
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.28 บาท
ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.22
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.05 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.24 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.04
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,854 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,829 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,618 บาทต่อตัน)
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,569 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤศจิกายนจะมีประมาณ 1.261 ล้านตันคิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.227 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.241 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.223 ล้านตัน ของเดือนตุลาคม คิดเป็นร้อยละ 1.61 และร้อยละ 1.79 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.19 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.01 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.98            
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.05 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 18.67 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.39  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
มาเลเซียเสนอส่วนลดการซื้อปาล์มน้ำมัน
อินเดียกลับมาซื้อปาล์มน้ำมันมาเลเซีย เนื่องจากทางมาเลเซียเสนอส่วนลดให้ตันละ 5 ดอลลาร์ และที่ผ่านมารัฐบาลอินเดียยังไม่มีการออกมาตรการในการจัดการกับสินค้าจากมาเลเซียอย่างเป็นทางการ โดยในเดือนที่ผ่านมาผู้ประกอบการอินเดียหยุดซื้อปาล์มน้ำมันจากมาเลเซีย เพราะคาดว่าจะมีการขึ้นภาษีนำเข้าหลังจากมีประเด็นทางการเมืองกัน จากข้อมูลคณะกรรมการน้ำมันปาล์มของมาเลเซีย เดือน ม.ค.-ต.ค. อินเดียซื้อปาล์มน้ำมันจากมาเลเซียทั้งหมด 4.1 ล้านตัน โดยในเดือนตุลาคม อินเดียนำเข้า 219,956 ตัน ลดลงจาก 310,648 ตัน ในเดือนกันยายน และ 550,452 ตันในเดือนสิงหาคม
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,538.61 ดอลลาร์มาเลเซีย (18.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,458.90 ดอลลาร์มาเลเซีย (18.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.24  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 683.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 667.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.43  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2.สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ         
       

           รายงานการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย
          กระทรวงอาหารของอินเดีย รายงานว่า รัฐบาลได้ขยายระยะเวลาให้โรงงานน้ำตาลส่งออกน้ำตาลจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เพื่อส่งออกน้ำตาลตามโควตาการส่งออกของปี 2561/2562 โดยที่ในฤดูการผลิตปี 2561/2562 (ตุลาคม-กันยายน) โรงงานน้ำตาลส่งออกได้เพียง 3.80 ล้านตัน จาก 5.00 ล้านตัน เนื่องจากภาวะตลาดน้ำตาลที่ซบเซา โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตะวันออกกลาง อิหร่าน อัฟกานิสถาน บังคลาเทศ และศรีลังกา สำหรับปี 2562/2563 คาดว่าโควตาการส่งออกมีจำนวน 6.00 ล้านตัน
 

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา        
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 906.52 เซนต์ (10.16 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 922.28 เซนต์ (10.30 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.71
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.24 บาท/กก.) สูงขึ้น จากตันละ 302.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.10
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.05 เซนต์ (20.87 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 31.53 เซนต์ (21.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.52

 

 
ยางพารา

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 38.13 บาท/กิโลกรัม
ยางพารา
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.33 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.83 บาท เพิ่มขึ้นจาก 36.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.82
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.33 บาท เพิ่มขึ้นจาก 36.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.30 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 16.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.69
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.92 บาท เพิ่มขึ้นจาก 15.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.71 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.67
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.90 บาท ลดลงจาก 33.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.54 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.61
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนธันวาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.62 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.22
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.47 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.91 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.26 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.64 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.48 บาท เพิ่มขึ้นจาก 32.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.22
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.37 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.81 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.22
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.22 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.66 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.56 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.01 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.64 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.59
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.23 บาท เพิ่มขึ้นจาก 31.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.39 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.22
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 151.38 เซนต์สหรัฐฯ (45.51 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 148.76 เซนต์สหรัฐฯ (44.56 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.62 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 164.64 เยน (45.00 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 160.70 เยน (43.92 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 3.94 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ


 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.99 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 21.00 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.71
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,033.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 929.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 933.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท    
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,029.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,033.60 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 662.00 ดอลลาร์สหรัฐ (19.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 664.80 ดอลลาร์สหรัฐ (19.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,090.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,094.20 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท

 
 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.99 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 12.11
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 21.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 27.90
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
          1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 64.54 เซนต์ (กิโลกรัมละ 43.40 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 63.95 เซนต์ (กิโลกรัมละ 42.85 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.55 บาท



 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,793 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,791 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.11
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,426 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,421 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 789 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ  779 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.28

 
 


ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่ชะลอตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  59.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.17  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 56.52 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 59.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 59.45 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.14 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,400 (บวกลบ 56 บาท)  สูงขึ้นจากตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 56 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมา    ร้อยละ 7.69     
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา      

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคมีไม่มากนัก  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.47 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 32.33 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.59 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท  ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  2.06  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่เริ่มเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาเปิดภาคเรียนคาดว่าความต้องการบริโภคจะเพิ่มขึ้น แต่จากสภาพอากาศในช่วงนี้เริ่มเย็นลงไม่ร้อนมากนัก  ทำให้แม่ไก่ออกไข่ค่อนข้างมากและเริ่มสะสม ส่งผลให้ราคาไข่ไก่เกษตรกรขายได้โน้มลดลง  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 294 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.04 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 299 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 297 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.  ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 321 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.12

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 333 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 307 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.87 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 101.43 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.61   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.23 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.07 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


 

 

 
ประมง
 
 


ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี